ไขมันทรานส์ คืออะไร?

5.นมข้นหวาน นมข้นจืด

หลายคนกลัวว่า นมข้นหวาน ก็จะมี ‘ไขมันทรานส์’ ซ่อนอยู่ อัพเดต! ล่าสุด…มีผู้ประกอบการที่ผลิตนมข้นหวาน เนยเทียม หลายๆ เจ้า เริ่มออกมาประกาศแล้วว่า สินค้าของพวกเขาไม่มีน้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ไม่กระทบกับข้อกฎหมายนี้ เช่น นมข้นหวานมะลิ มาร์การีนเบสฟู้ด เป็นต้น

6.ไก่ทอด เฟรนช์ฟราย ป๊อปคอร์น

ส่วนของทอดต่างๆ เช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟราย หากทอดแบบ Deep Fried ในความร้อนสูง ใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ หลายครั้ง อันนี้ก็จะมีไขมันทรานส์ปนเปื้อนได้ และยังพ่วงด้วยสารก่อมะเร็งด้วย ส่วนพวกป๊อปคอร์น มันฝรั่งทอด ที่ใช้เนยเทียมหรือมาการีน มาใช้อบใช้ทอด ก็ยิ่งจะมีไขมันทรานส์มากไปอีก ให้หลีกเลี่ยงไปซะ ถ้าอยากกินป๊อปคอร์นจริงๆ แนะนำว่าใช้เนยแท้สดๆ มาคั่วอบแทน

7.น้ำมันพืช กินได้!

สำหรับน้ำมันพืชบรรจุขวดต่างๆ ก็ยังรับประทานได้ ไม่มีปัญหา มีหลายคนอาจเข้าใจกันผิดว่า น้ำมันพืชบรรจุขวดก็เป็นไขมันทรานส์ ซึ่งไม่จริง!

น้ำมันพืชบรรจุขวดไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องไขมันทรานส์ ที่เห็นข้างขวดน้ำมันว่าเป็นน้ำมันผ่านกรรมวิธีเนี่ย เป็นเรื่องกรรมวิธีการกลั่นน้ำมัน แล้วก็ไม่ได้เอามาเติมไฮโดรเจนเพื่อกันหืนแต่อย่างใด

แต่หากใช้น้ำมันพืชไปทอดผ่านความร้อนสูง ซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง จะเกิดไขมันทรานส์ขึ้นจริง! แต่ปริมาณน้อยมากๆ น้อยกว่าที่เราได้รับจากไขมันทรานส์ตามธรรมชาติเสียอีก ดังนั้นถ้าเอามาใช้ทำอาหารแค่ครั้งเดียว ก็ไม่ต้องกลัวอะไร (ที่ห้ามเอามาทอดซ้ำบ่อยๆ คือกลัวเรื่องสารก่อมะเร็งต่างหาก ทำให้คนหันไปกินน้ำมันหมู ซึ่งแย่เข้าไปใหญ่)

แถมท้าย…ข้อควรรู้ ไขมันทรานส์

ก่อนหน้านี้มีกระแสรณรงค์ต่อต้านไขมันทรานส์มาสักพักแล้วล่ะ โดยมีข้อจำกัดว่าในอาหารจะมีปริมาณไขมันทรานส์ได้เพียงเล็กน้อยตามมาตรฐาน แต่ก็ยังมีช่องว่างในการหลบเลี่ยง ตรงที่ผู้ผลิตหันไปใช้ช่องโหว่เรื่อง “ไขมันทรานส์ 0 กรัม” แทน

เนื่องจากถ้าในอาหารนั้น ถึงจะมีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และน่าจะมีไขมันทรานส์มาด้วย แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่าตามที่แต่ละประเทศกำหนด ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ก็มีสิทธิเขียนได้ว่า 0 gram trans fat ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าเป็น 0% คือไม่มีอยู่เลย (แต่จริงๆ คือ ไม่ใช่! ยังไงก็ยังมีปนเปื้อนอยู่)

Scroll to Top