ข้อกำหนด
มาตรฐาน ISO22000

ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่มีมาตรฐานที่สุด
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้สิ่งที่ทุกคนไม่สามารถมองข้ามได้เลยคือ เรื่องของการดูแลสุขภาพ ร่าง กายให้สมบูรณ์ รวมไปถึงการดูแลรูปร่าง และผิวพรรณก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนยุคสมัยนี้ที่ให้ความสำคัญรองลงมา
จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขในปี 2551 พบว่า 90% ของคนไทยมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน 60% เข้าข่ายเป็นโรคอ้วน 35% มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ “You Are What You Eat”
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ กาแฟ เพื่อสุขภาพ ล้วนแล้วแต่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น อาทิเช่น คอลลาเจน ถั่วขาว ไฟเบอร์ วิตามินรวม ถั่วเหลือง แคลเซี่ยม ไซเลี่ยมฮัลค์ ซอยแป๊ปไทด์ เป็นต้น
เรายังมีทีมพัฒนาสูตรและผลิตภัณฑ์ที่มีความเชี่ยวชาญ และมากประสบการณ์ สามารถมั่นใจได้เลยว่าสินค้าที่ได้ผลิตกับทางเรานั้น มีคุณภาพ และแตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ ในตลาด

5 ข้อกำหนด ของมาตรฐาน ISO22000
องค์กรต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันว่าวิธีการเฝ้าระวัง การตรวจวัด และอุปกรณ์ มีความเหมาะสมที่สามารถให้ผลการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ เครื่องมืออุปกรณ์ต้องมีการสอบเทียบ มีการจัดเก็บและรักษาบันทึกผลการสอบเทียบและทวนสอบระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร เช่น ตรวจประเมินภายใน (Internal audit) หากพบว่าการทวนสอบให้ผลไม่สอดคล้องตามแผน ต้องลงมือดำเนินการแก้ไขและต้องมีการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากกิจกรรมการทวนสอบและรายงานผู้บริหารเพื่อนำเข้าสู่การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร และใช้เป็นข้อมูลปรับระบบให้ทันสมัย
หลักการสำคัญของมาตรฐาน ISO22000
-
1. แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน และข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหาร
(demonstrate compliance with applicable statutory and regulatory food safety requirements) -
2. พิจารณาและประเมินข้อเรียกร้องของลูกค้าและแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ตรงตามข้อเรียกร้องของลูกค้า และเป็นข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับงานความปลอดภัยอาหาร เพื่อส่งเสริมความพึงพอใจของลูกค้าให้มีมากขึ้น
(evaluate and assess customer requirements and demonstrate conformity with those mutually agreed customer requirements that relate to food safety, in order to enhance customer satisfaction) -
3. มีการสื่อสารประเด็นที่เกี่ยวกับด้านความปลอดภัยอาหารไปยังผู้ส่งมอบสินค้าลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สนใจที่อยู่ห่วงโซ่การผลิตอาหารได้อย่างมีประสิทธิผล
(effectively communicate food safety issues to their suppliers, customers and relevant interested parties in the food chain) -
4. ทำให้เกิดความมั่นใจว่าองค์กรมีความสอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยอาหารที่ได้กำหนดไว้
(ensure that the organization conforms to its stated food safety policy) -
5. แสดงให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สนใจได้ทราบถึงความสอดคล้องดังกล่าว
(demonstrate such conformity to relevant interested parties) -
6. ได้รับการรับรอง หรือการขึ้นทะเบียนระบบบริหารงานด้านความปลอดภัยอาหารโดยหน่วยงานภายนอก หรือดำเนินการประเมินด้วยตนเอง หรือการระบุด้วยตนเอง ว่าองค์กรมีการดำเนินงานที่ตรงตามความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
(seek certification of registration of its food safety management system by an external organization, or make a self-assessment or self-declaration of conformity to this International Standard)
อ้างอิง : nfi สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม